วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

ไซแนปส์



ไซแนปส์ (Synaps) เป็นจุดต่อระหว่างใยแอกซอนของเซลล์ประสาทตัวหนึ่ง กับเดนไดรท์ของเซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่ง มีลักษณะเป็นช่องว่างเล็ก ๆ โดยที่เมื่อเซลล์ประสาทตัวหนึ่งได้ส่งกระแสประสาทเข้ายังแอกซอนจนถึงปลายประสาทแล้ว กระแสความรู้สึกนั้นจะส่งเข้าไซแนปส์ จากนั้นไซแนปส์ก็จะส่งกระแสความรู้สึกดังกล่าวส่งตาอไปยังเดนไดรท์ของเซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่งทันที ซึ่งกล่าวได้ว่า ไซแนปส์นั้นเป็นตัวเชื่อมส่งสัญญาณกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาทนั่นเอง


ชนิดของเซลล์ประสาท



ชนิดของเซลล์ประสาท (แบ่งตามลักษณะ)



มี3 ประเภท คือ


• เซลล์ประสาทขั้วเดียว

• เซลล์ประสาทสองขั้ว

• เซลล์ประสาทหลายขั้ว




เซลล์ประสาทขั้วเดียว
เซลล์ประสาทประเภทนี้ส่วนของแอกซอน และเดนไดรต์ที่ใกล้ๆ ตัวเซลล์จะรวมเป็นเส้นเดียวกัน ทำให้มีแขนงแยกออกจากตัวเซลล์เพียงแขนงเดียว เดนไดรต์มักจะยาวกว่าแอกซอนมากพบที่ปมประสาทรากบน (dorsal root ganglion) ของไขสันหลัง




เซลล์ประสาทสองขั้ว (bipolar nuron)
เป็นเซลล์ประสาทที่มีใยประสาท ออกจากตัวเซลล์สองเส้น
 
 
 
 
 
 
 
เซลล์ประสาทหลายขั้ว ( multipolar neuron)
 เป็นเซลล์ประสาทที่มีใยประสาท ออกจากตัวเซลล์หลายเส้น

การทำงานของระบบประสาท

เซลล์ประสาทนั้นสามารถแบ่งได้โดยอาศัยหน้าที่การทำงานเป็น 3 ประเภท ซึ่งได้แก่

ก) เซลล์ประสาทรับความรู้สึก หรือเซลล์ประสาทสัมผัส (Sensory Neuron) ทำหน้าที่รับข่าวสารจากอวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ


ข) เซลล์ประสาทมอเตอร์ หรือเซลล์ประสาทยนต์ (Motor Neuron) ทำหน้าที่สั่งการในการทำงานของกล้ามเนื้อและต่อมต่าง ๆ โดยนำคำสั่งมาจากสมองหรือไขสันหลัง


ค) เซลล์ประสาทเชื่อมโยง (Association Neuron) ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างเซลล์ประสาททั้งสองเซลล์ข้างต้น เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมต่อทางความรู้สึก โดยจุดเชื่อมต่อจะอยู่บริเวณสมองหรือไขสันหลัง

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

การเคลื่อนทีของพารามีเซียม


พารามีเซียม (Paramecium) เป็นโปรโตซัวสกุลหนึ่ง อยู่ในอาณาจักร
โพรทิสตา มีขนรอบๆ ตัว ใช้ขนในการเคลื่อนที่ เรียกว่า ซิเลีย


พารามีเซียม สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวไม่มีเซลล์ประสาทแต่สามารถรับรู้และตอบสนองได้เช่น พารามีเซี่ยมสามารถเคลื่อนที่เข้าหาหรือหนี แสงสว่าง อุณหภูมิ สารเคมีได้ เป้นต้น นักเรียนเคยทราบมาแล้วว่าพารา


มีเซี่ยมใช้ ซีเลียในการเคลื่อนที่คำแนะนำ : ให้สังเกตุเส้นใยประสานงานที่อยู่ที่โคนซีเลียซึ่งเส้นใยนี้จะเชื่อมโยงกับ ซีเลียทุกเส้นของพารามีเซี่ยม

การตอบสนองของพลานาเลีย




จะมีเซลล์ประสาทรวมตัวเป็นกลุ่ม โดยเฉพาะบริเวณหัวเรียกกลุ่มเซลล์ประสาทนี้ว่า ปมประสาท หรือเรียกว่า สมอง มีเส้นประสาทใหญ่ ขนานไปตามด้านข้างของลำตัวจากหัวจรดท้ายลักษณะ แบบขั้นบันได เส้นประสาทดังกล่าวจะเชื่อมโยงติดกันด้วยเส้นประสาทที่วนรอบลำตัว คือวงแหวนประสาท

การทำงานของระบบประสาท




การทำงานของระบบประสาทสั่งการ
การทำงานของเส้นประสาทในระบบประสาทรอบนอกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่รับความรู้สึก (sensory division) จะรับความรู้สึกจากภายในหรือภายนอกร่างกายและส่วนที่สั่งการ

(motor division)

-ถ้าการสั่งการเกิดขึ้นกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับได้ เช่น กล้ามเนื้อยึดกระดูก ก็จัดเป็นระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system : SNS)

-ถ้าการสั่งการเกิดกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับไม่ได้ เช่น อวัยวะภายในและต่อมต่าง ๆ ก็จัดเป็น ระบบประสาทอัตโนวัติ (autonomic nervous system : ANS)

ระบบประสาทอัตโนวัติแบ่งออกเป็นระบบย่อย 2 ระบบ คือ
-ระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system)
-ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous system)

หน้าที่ของระบบประสาท

แบ่งออกเป็น 3 ระบบใหญ่ ตามหน้าที่การทำงาน คือ


ระบบประสาทรับความรู้สึก (sensory system)
ทำหน้าที่รับความรู้สึกที่เกิดจากการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าหรือเกิดจากการเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ระบบประสาทนี้ประกอบด้วยตัวรับความรู้สึก ซึ่งเมื่อถูกกระตุ้นจะเกิดกระแสประสาทส่งไปตามเส้นประสาทรับความรู้สึกไปยังสมองระบบประสาทรับความรู้สึกทั่วไป ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากผิวหนัง กล้ามเนื้อข้อต่อหรืออวัยวะภายใน โดยมีตัวรับความรู้สึกกระจายอยู่ทั่วร่างกาย ระบบประสาทรับความรู้สึกพิเศษทำหน้าที่รับความรู้สึกจากตัวรับซึ่งมีอยู่เฉพาะอวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ ได้แก่ ตา หู จมูก และ ลิ้น


เยื่อไมอีลิน




•กรณีที่ใยประสาทยาวมักเป็นใยประสาทของ axon จะมีเยื่อ ไมอีลินมาหุ้มใยประสาท เยื่อไมอีลินมีสารจำพวกลิพิดเป็นองค์ประกอบ

(รูปที่ 2 )



ส่วน axon ตรงบริเวณรอยต่อระหว่างเซลล์ชวันน์ แต่ละเซลล์เป็นบริเวณที่ไม่มีเยื่อไมอีลิน เรียก nord of ranvier

(รูปที่ 1 )



เซลล์ประสาท




ร่างกายคนมีเซลล์ประสาท หรือ นิวรอน จำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้และการตอบสนอง แต่ละเซลล์อาจมีการเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับเซลล์ประสาทอื่นๆเป็นพันๆเซลล์


ส่วนประกอบของเซลล์ประสาท


•เซลล์ประสาทประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วน คือ ตัวเซลล์และใยประสาท ตัวเซลล์เป็นส่วนของไซโทพลาสซึมและนิวเคลียสมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-25 ไมโครเมตร ภายในมีออร์แกเนลที่สำคัญ คือmitrocondria,endoplastmiclaticulum,golgicomplex

ระบบประสาทของดาวทะเล

ไม่มีสมอง ไม่มีปมประสาท มีระบบประสาทแบบวงแหวน (nerve ring) อยู่รอบปากและมีเส้นประสาทรัศมี (radial nerve) แยกไปตามแขน



ระบบประสาทของแมลง


ระบบนี้ตั้งอยู่ที่ด้านท้องของแมลง (ventral) มีส่วนประกอบคือสมอง และปมประสาท ส่วนหัวมีปมประสาท 6 คู่ โดย 3 คู่รวมกันเป็นสมอง อีก 3 คู่รวมกันเป็นปมประสาทใต้สมอง (subesophagial ganglian) ส่วนอกมีปมประสาท 3 ปม (1 ปม ต่อ 1 ปล้องอก) ส่วนท้องมีปมประสาท 8 ปมเล็ก (1 ปม ต่อ 1 ปล้องท้องที่ 1-8) และปมใหญ่ 1 ปม (caudal ganglion)แมลงหลายชนิด มีการรวมตัว และลดรูปของปมประสาท เช่น แมลงสาบบางชนิด มีปมประสาทที่ท้องเพียง 6 ปมเล็ก กับ 1 ปล้องใหญ่ ต่อชนิด Vespa crabro มีปมประสาทที่อก 2 ปม ปมประสาทที่ท้อง 3 ปมเล็ก กับ 1 ปมใหญ่ และแมลงวันบ้าน (Musca domestica) ปมประสาทที่อก และปมประสาทเล็กที่ท้องรวมกันเป็น 1 ปม เท่านั้น เป็นต้น โครงสร้างแข็งภายนอก แมลงส่วนมากมีปีก 2 คู่ตั้งอยู่ที่อกล้องที่ 2 และ 3 อย่างละ 1 คู่ และเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดเดียวที่ได้พัฒนาให้บินได้ จึงทำให้พวกมันอยู่รอดได้ดี กระบวนการบินของแมลงยังไม่แน่ชัด เชื่อว่าใช้ระบบการเคลื่อนที่ของอากาศ กลุ่มแมลงโบราณใช้กล้ามเนื้อบังคับโครงสร้างปีกโดยตรง ส่วนกลุ่มแมลงที่พัฒนาปีกจะพับได้ และใช้กล้ามเนื้อบังคับผนังส่วนอก บังคับโครงสร้างปีกทางอ้อม


ระบบประสาทของไส้เดือนดิน

ระบบประสาทของไส้เดือนดินซึ่งประกอบด้วยปมประสาทสมอง (suprapharyngeal ganglia) 1 คู่ อยู่เหนือคอหอยปล้องที่ 3 จากสมองมีเส้นประสาทรอบคอหอย (circumpharyngeal connectives) 2 เส้น อ้อมรอบคอหอยข้างละเส้น เส้นประสาททั้งสองเส้นนี้ลงมาเชื่อมกันกลายเป็นปมประสาทใต้คอหอย (subpharyngeal ganglion) ซึ่งมีสองปมอยู่ตรงปล้องที่ 4 ทั้งหมดนี้ จึงมีลักษณะเป็นประสาทวงแหวนรอบคอหอย จากปมประสาทใต้คอหอยติดต่อกับเส้นประสาทใหญ่ด้านท้อง (ventral nervecord) ทอดไปตามความยาวของลำตัวด้านท้องจนถึงปล้องสุดท้าย เส้นประสาทใหญ่ด้านท้องนี้จะมีปมประสาทที่ปล้อง (segmental ganglion) ประจำอยู่ทุกปล้อง ปล้องละ 1 ปม และแต่ละปมมีแขนงประสาท (Iateral nerves) แยกออกไป 3 คู่ แขนงประสาทที่ประจำอยู่แต่ละปล้องจะยื่นเข้าไปในชั้นของกล้ามเนื้อของผนังลำตัวติดต่อกับใยประสาทรับความรู้สึก (sensory fiber) นำกระแสความรู้สึกจากผิวของร่างกายเข้าสู่เส้นประสาทและติดต่อกับใยประสาทส่งความรู้สึก (motor fiber) เพื่อนำกระแสความรู้สึกจากเส้นประสาทไปยังกล้ามเนื้อและผิวหนัง แขนงประสาทจากปมประสาทที่ปล้องยังควบคุมการทำงานของ
เนฟริเดีย และอวัยวะภายในอื่นๆด้วย






การรับรู้และการตอบสนองของไฮดรา




ไฮดรา
ไฮดรามีร่างแหประสาท ( nerve net ) ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ประสาทเชื่อมโยงกันเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจะเกิดกระแสประสาทเคลื่อนที่ไปตามเซลล์ประสาทที่สานกันเป็นร่างแห
เคลื่อนที่ตลกมาก โดยการหกตัวกลับไปมาคล้ายการตีลังกา เนื่องจากลำตัวของมันอ่อนมาก เวลาเคลื่อนที่ไฮดราจะใช้ด้านฐาน (basal end) เกาะติดกับพื้นที่ที่มันเกาะ เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ในน้ำหรืออ่างแก้วที่เพาะเลี้ยง ต่อจากนั้นมันก็จะโอนตัวพร้อมกับใช้หนวดซึ่งอยู่รอบปาก เกาะพื้นที่อีกด้านหนึ่งแล้วคลายตัวด้านฐานดูคล้าย ๆ กับใช้ปากยึดพื้น ทำเช่นนี้ เรื่อยไป ไฮดราก็จะเคลื่อนที่ไปได้ เหมือนนักยิมนาสติกจิ๋วจริง ๆ นะครับ

การรับรู้และการตอบสนอง


ขณะที่อากาศภายนอกร้อนจัด ร่างกายจะขับเหงื่อออกมาก
แต่เมื่อเข้าไปในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศจะรู้สึกเย็นสบายและมีเหงื่อออกน้อยลง แสดงว่าร่างกายมีระบบที่รับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและถ่ายทอดการรับรู้ไปยังหน่วยแปลความรู้สึก พร้อมทั้งออกคำสั่งให้หน่วยปฎิบัติงานทำงาน

โดยปกติการตอบสนองของสัตว์จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างระบบ ประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ ระบบประสาทจะควบคุมการตอบสนองที่ เกิดขึ้นและสิ้นสุดเร็ว เช่นการหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการ เคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ระบบต่อมไร้ท่อจะควบคุมการ ตอบสนองที่เกิดช้ากว่า แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีผลต่อเนื่องเป็นเวลานาน
เช่น การเจริญของเซลล์ไข่ในรังไข่ อย่างไรก้ตามแม้ทั้ง 2 ระบบ จะทำงาน แตกต่างกันแต่ทำงานสัมพันธ์ จึงเรียกว่า ระบบประสานงาน (coordinating system)